การเอาชนะการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) คงเป็นที่ท้าทายอยู่เสมอ แต่กับการพัฒนาทางการแพทย์ล่าสุด ความหวังในการควบคุม และป้องกันโรคนี้ก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ ซึ่งการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ด้วยยาเพร็พ ( PrEP) นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่ต้อนรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสามารถในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของยาเพร็พ
PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาที่กินเพื่อการป้องกันก่อนการติดเชื้อเอชไอวี โดยการกินยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน ยาเพร็พไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หากเป็นครั้งแรกผู้รับยา ต้องทำการตรวจเลือด ค่าการทำงานของไต ก่อนรับยาเพร็พ โดยแพทย์จะจ่ายยาให้ไปใช้สำหรับ 1 เดือนก่อน และจะนัดมาตรวจเลือดอีกครั้ง
ซึ่งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ยาเพร็พได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในศึกษาด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี มันเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอชไอวี โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น จากการมีเพศสัมพันธ์ได้สูงถึง 99% เมื่อทานยาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติดได้ประมาณ 74%
ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ?
ยาเพร็พ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง ดังนี้
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ
- ชาย หรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ถุงยางอนามัยมากกว่า
- ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่กำลังฉีดอยู่ หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 3 เดือน
- ผู้ที่มาขอทานยาเป็ป (ยาต้านฉุกเฉิน) บ่อย โดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงได้
- มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่ทราบว่าคู่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ และมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงนี้อีกใน 3 เดือนข้างหน้า
- ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา
- หากไม่มีความเสี่ยงข้างต้นแต่อยากกินยาเพร็พ สามารถทำได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกินยาเพร็พ
ยา PrEP ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี ?
ยา PrEP ประกอบด้วยตัวยา 2 ชนิดใน 1 เม็ด (Fix Dose Communication) สามารถใช้ได้ใน 2 รูปแบบ คือแบบ Daily PrEP กินทุกวันติดต่อกัน กับแบบ On Demand PrEP ใช้กินเมื่อทราบ และวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะมีความเสี่ยง ซึ่งจะกินในระยะเวลาสั้นๆ
การกินเพร็พแบบทุกวัน ( Daily PrEP)
- กินยาเพร็พ วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ใช้ได้ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และทรานเจนเดอร์
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ล่วงหน้าได้ เช่น ผู้ที่ให้บริการทางเพศ
- มีประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากเริ่มกินยาเพร็พไปแล้ว 7 วัน ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 99.9%
การกินเพร็พแบบเฉพาะช่วง (On demand PrEP)
- แนะนำใช้วิธีนี้แค่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
- ไม่ต้องกินทุกวันเหมือน Daily PrEP
- กินแบบ 2-1-1 คือ กินยาเพร็พ 2 เม็ด ก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง และหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์เสร็จเรียบร้อย ให้กินยาพร็พต่ออีก 2 วัน วันละ 1 เม็ดที่เวลาเดิม
- ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 97-99%
ผลข้างเคียงของยาเพร็พ
- ยาเพร็พ เป็นยาที่มีความปลอดภัยมาก มีผลข้างเคียงน้อย และมีประสิทธิภาพสูง แต่ยังต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ เนื่องจากหากใช้ยาไม่ถูกต้อง และไม่ได้ตรวจเลือดอาจมีการดื้อยา และพบผลข้างเคียงที่อันตรายได้
- อาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จะเกิดในช่วงเริ่มยา และอาการจะค่อยๆดีขึ้นได้เอง ถ้าอาการยังคงอยู่หรือรุนแรงอยู่ ให้แจ้งแพทย์ทันที
- กระดูกบางลง หรือค่าไตขึ้น พบได้น้อยมากเพียง 0.5-1% และกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดยา
ก่อนเริ่มกินยาเพร็พต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ผู้มารับบริการต้องงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับยาเพร็พ
- ผู้มารับบริการต้องตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ก่อนเริ่มยาทุกราย
- ผู้มารับบริการจะต้องได้รับการตรวจการทำงานของตับ และไต
- ผู้มารับบริการในบางราย ต้องตรวจการตั้งครรภ์ หากมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้
- ผู้มารับบริการ อาจต้องตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี ซิฟิลิส และหนองใน ร่วมด้วยเพื่อการรักษา
- ผู้มารับบริการหลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นจะมีการนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน
- หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง
ยาเพร็พ (PrEP) รับได้ที่ไหน?
การรับยาต้าน ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เพราะยาชนิดนี้ไม่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เพราะการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา หรือ สั่งยาผ่านระบบออนไลน์ผ่านคลินิกต่างๆ (สำหรับผู้ป่วยที่เคยติดต่อรับยาจากสถานที่นั้นๆแล้ว)ราคายาเพร็พ มีหลายราคาขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวนบรรจุ เช่น ยาเพร็พ (30 tablets) ซึ่งราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 900 – 3,200บาท
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เอชไอวี ไวรัสตัวร้ายที่ยังรักษาไม่หายขาด
กลยุทธ์การป้องกัน HIV กลุ่ม LGBTQ+
PrEP เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคเอชไอวี ซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางของการระบาดของโรคนี้ การเข้าใจและการรับรู้ถึง PrEP จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอชไอวีในสัง