ติดเชื้อเอชพีวี ได้จากอะไรบ้าง

เอาเป็นว่าเราสามารถ ติดเชื้อเอชพีวี (HPV) ที่เป็นไวรัสได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อเอชพีวี แล้วซึ่งเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ได้หลายประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคอ หรือมะเร็งทางทวารหนัก เป็นต้น

เชื้อเอชพีวี คืออะไร

HPV ย่อมาจาก Human Papillomavirus ซึ่งเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุด ไวรัสนี้มักจะไม่มีอันตรายและจะหายไปเองโดยทั่วไปในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดมะเร็ง หรือก้อนติ่งต่างๆในช่องคลอด หรือทวารหนักหากมีการร่วมเพศทางนี้ การ ติดเชื้อเอชพีวี เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกกว่า 95% ของผู้ป่วย ทำให้เป็นปัญหาสุขภาพสาธารณะที่สำคัญ

ไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรค แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  • สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่นๆ
  • สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11 ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ แต่จะไม่นำไปสู่มะเร็งหรือปัญหาร้ายแรงอื่นๆ เหมือนสายพันธุ์แรก
ไวรัสเอชพีวี สายพันธุ์

ติดเชื้อเอชพีวี ผ่านวิธีไหน

เราสามารถติดเชื้อเอชพีวี ได้อย่างง่ายดายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ทั้งการสอดใส่ หรือการทำรักทางปาก การติดเชื้อเอชพีวีสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการ และไม่ใช่เพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้นที่จะติดเชื้อเอชพีวีได้ ผู้ชายเองก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน

จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ติดเชื้อเอชพีวี เรียบร้อยแล้ว

การจะรู้ว่าเราติดเชื้อเอชพีวี หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเท่าไร เนื่องจากส่วนใหญ่เชื้อไวรัสนี้ไม่มีอาการใดๆ ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่า เราติดเชื้อหรือไม่ ในบางกรณี หากมีอาการแสดงออกมา ก็อาจปวดเมื่อยมากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือการตรวจ Pap smear ในผู้หญิง จะช่วยตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ในระยะเริ่มต้น และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในภายหลังได้อย่างมาก

ผู้ติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกจะต้องถูกตรวจพบว่าผลการตรวจ Pap Smear (การตรวจสอบความผิดปกติของเซลล์ที่อาจก่อมะเร็งด้วยการขูดเซลล์บริเวณปากมดลูก) มีความผิดปกติ และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเพื่อให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำ แพทย์อาจต้องตรวจหาภาวะอักเสบและติดเชื้อโดยใช้วิธีการ Colposcopy (การส่องกล้องเพื่อหาตำแหน่งที่ผิดปกติของปากมดลูกหรือช่องคลอด) และตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติม

อาการเมื่อ ติดเชื้อเอชพีวี เป็นอย่างไร

หูดขึ้นเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น ตุ่มนูน ตุ่มเรียบ ตุ่มสีชมพู หรือตุ่มสีเนื้อ แต่จะสังเกตได้จากผิวเนื้อที่ตะปุ่มตะป่ำ หูดอาจขึ้นได้ในช่องคลอด ปากมดลูก อัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ หรือขาอ่อน หูดอาจเกิดหลังจากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชพีวี ประมาณ 1-4 สัปดาห์

  • มีอาการคัน แสบ ร้อน หรือตึงบริเวณที่ติดเชื้อเอชพีวี
  • มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์หรือหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เพศหญิงตกขาวผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือมีเลือดออกกระปิดกระปอย
  • มีสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด (พบได้น้อยมาก)
  • ท่อทางเดินปัสสาวะอาจอุดตัน และมีอาการปัสสาวะขัด แต่พบได้น้อยมากเช่นกัน

ติดเชื้อเอชพีวี รักษาอย่างไร

โดยปกติแล้ว มีผู้ติดเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ต่างๆ จำนวน 95% ที่สามารถหายขาดได้เองในเวลา 2-3 ปี หลังจากติดเชื้อ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล และอาจมีกรณีที่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายปี และเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาหรือกำจัดเชื้อ HPV สามารถทำได้เพียงผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ติดเชื้อออกไปเท่านั้น ยังไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสเอชพีวีในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชพีวียังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีกครั้ง

ป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี

เราจะป้องกันการ ติดเชื้อเอชพีวี ได้อย่างไร

  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี
    • วัคซีนเอชพีวี เป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งทวารหนัก สามารถฉีดได้ในทุกเพศ ซึ่งควรได้รับวัคซีนเอชพีวีก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรือในช่วงอายุตั้งแต่ 9-26 ปีขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 45 ปี และจะต้องทำการฉีดวัคซีนตามแนวทางที่แพทย์กำหนดให้ครบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการป้องกันโรคที่สูงที่สุด
  • การใช้ถุงยางอนามัย
    • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตาม โดยการใช้ถุงยางอนามัยควรเตรียมและดึงถุงยางอนามัยออกมาจากซองอย่างเบามือ เช็คว่ามีการแตกหรือฉีกขาดอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากมี ให้เปลี่ยนถุงยางอนามัยใหม่ ล้างมือให้สะอาดแล้วใส่ถุงยางอนามัยลงบนปลายอวัยวะเพศของคุณ ใช้มือบีบช่วยแนบกับผิวหนังและรูดไปถึงโคนอวัยวะเพศ ซึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ควรหมั่นสังเกตให้แน่ใจว่า ถุงยางอนามัยจะไม่หลุดออก
  • การมีคู่นอนประจำ
    • มีคู่นอนคนเดียว ไม่สำส่อนทางเพศ หรือมีคู่นอนที่ไว้ใจได้ รู้ผลเลือดและปลอดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อเอชพีวีได้
  • ตรวจคัดกรองโรคประจำปี
    • การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยตรวจพบอาการ และรักษาโรคต่างๆ ที่พบได้เร็วขึ้น รวมถึงการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวี
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี
    • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่อดหลับอดนอน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือไม่ใช้สารเสพติดต่างๆ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี มีภูมิคุ้มกันสามารถต้านทานเชื้อไวรัสที่อาจเข้าสู่ร่างกายได้

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เป็นหนองในแท้ ไม่รักษา ปล่อยหายเองได้ไหม

เอชไอวี ไวรัสตัวร้ายที่ยังรักษาไม่หายขาด

ข้อสรุปเกี่ยวกับ ไวรัสเอชพีวี

“เอชพีวี” เป็นไวรัสที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งทวารหนักในเพศชาย ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสเอชพีวี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้

  • ไวรัสเอชพีวีมีหลายสายพันธุ์ และบางสายพันธุ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
  • การติดเชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้จากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการเป็นโรค
  • โรคไวรัสเอชพีวีสามารถรักษาได้ โดยการตัดชิ้นเนื้อที่ติดเชื้อ แต่การรักษายังไม่สามารถยับยั้งการแพร่เชื้อในร่างกายได้อย่างหมดจด
  • วิธีการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ดีที่สุด คือ การใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์และการหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
  • การคัดกรองเพื่อตรวจพบเซลล์ผิดปกติของปากมดลูก ผ่านการตรวจ Pap Smear เป็นวิธีการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และการพบเซลล์ที่มีความผิดปกติ เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก
  • การฉีดวัคซีนไวรัสเอชพีวี สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งที่สำคัญในการตรวจจับโรคทางเพศสัมพันธ์ เพราะจะช่วยตรวจพบโรคเรื้อรังได้ทันที และได้รับการรักษาตรงเวลา โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ซึ่งควรไปตรวจเป็นประจำทุกปีที่จะช่วยตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อน้ำเหลือง การตรวจแบบนี้ สามารถช่วยจัดการกับโรคในขั้นต้นได้ ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายของเซลล์ผิดปกติไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เป็นการตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงที่สำคัญ ซึ่งช่วยประเมินสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากคุณได้ติดเชื้อ HPV แล้ว คุณควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษา และติดตามอาการต่อไปจนกว่าจะจบกระบวนการการรักษาเอชพีวี

Similar Posts