รู้เท่าทัน ป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบซี

รู้เท่าทัน ป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบซี

โรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C หรือ HCV) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี (Hepatitis C Virus) สามารถติดต่อกันทางเลือด หรือเพศสัมพันธ์ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจาม หรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน

เมื่อเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัว และอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะมีอาการไม่มาก ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบ โดยประมาณเกือบ 8% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรัง และตามมาด้วยตับอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยมีอาการชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10-30 ปีจึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง เมื่อมีโรคตับแข็งเกิดขึ้นจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้

Beefhunt
รู้เท่าทัน ป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบซี

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบซีติดต่อกันทางเลือด บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสได้รับเชื้อจึงมีได้หลากหลาย ดังนี้ 

  • ผู้ที่เคยมีประวัติในการรับเลือด หรือเกล็ดเลือดจากกรณีเจ็บป่วย ผ่าตัดหัวใจ หรือเสียเลือดมาก 
  • ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการฟอกไตเป็นประจำ หรือผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ผู้ที่ติดสารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น นอกจากนั้นผู้ที่สัก เจาะหู เจาะตามร่างกาย ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • ชายรักชาย พนักงานบริการทางเพศ หรือผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ก็มีโอกาสได้รับเชื้อได้ง่ายเช่นกัน
  • ผู้ที่สัมผัสหรือมีประวัติสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบ ซี

อาการโรคไวรัสตับอักเสบซี

เกิดจาการสูญเสียการทำงานของเซลล์ตับ ทำให้การสร้างสารอาหาร พลังงาน และการทำลายพิษต่าง ๆ ผิดปกติ อาจพบอาการตับอักเสบ ดังนี้

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ท้องมาน ขาบวม
  • ผิวดำคล้ำ แห้ง คันโดยไม่มีแผล หรือผื่นมากกว่าเดิม
  • เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน
  • ผิวหนังช้ำ เขียวง่าย
  • ไวต่อยาหรือสารพิษต่าง ๆ มากกว่าปกติ
  • สมองมึนงง ซึม สับสน หรือโคม่า

 อาการตับอักเสบเรื้อรังจนเป็นตับแข็ง มีอาการดังนี้

  • อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีการแตกของหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร (Esophageal varices)
  • ม้ามโต
  • ซีด เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

แพทย์จะพิจารณาตามภาวะของโรค และโรคร่วมต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยเป็น โดยโรคไวรัสตับอักเสบซีนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยากกินร่วมกับยาฉีด ซึ่งยาสามารถช่วยกำจัดเชื้อไวรัสให้หายขาดอย่างถาวร และยังช่วยให้อาการตับอักเสบดีขึ้น เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด 

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี

  • ห้ามใช้อุปกรณ์สัก หรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
  • ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง หากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  • ตรวจร่างกายเพื่อประเมินการทำงานของตับเป็นประจำทุกปี

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี

  • พักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ควรทำงานหนักถ้ามีอาการอ่อนเพลียมาก
  • รับประทานอาหารเหมาะสม เป็นอาหารที่ถูกสุขอนามัย สะอาดและครบทุกหมู่ นอกจากนั้นอย่าให้อ้วนเพราะจะมีไขมันคั่งตับทำให้ตับเสียหายมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงยาประเภท สเตรียรอยด์ ซึ่งเป็นสารที่อาจกระตุ้นให้ไวรัสตับบีเพิ่มปริมาณมากขึ้นมากๆ โดยเฉพาะไวรัสตับ บี
  • หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่ไม่จำเป็น รวมถึงยาสมุนไพร ยาลูกกลอน และอาหารเสริมจำนวนมาก เพราะวิตามินบางชนิด หากรับประทานมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อตับได้
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
  • ออกกำลังกายเบาๆ ยกเว้นการออกกำลังกายชนิดที่ต้องหักโหมหรือตรากตรำทำงานหนัก
  • ควรตรวจเลือดทุก 3-6 เดือนและตรวจอัลตราซาวด์ตับด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ และ/หรือไฟโบรสแกน ทุก 6-12 เดือน

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

โรคไวรัสตับอักเสบซี  เป็นภัยเงียบที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ ฉะนั้นควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อหาทางป้องกัน หรือรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

Similar Posts